โปรแกรมเมอร์ดีไซน์
  • ไทย
  • english
เข้าสู่ระบบ
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
  • สินค้า
  • บทเรียน
  • บทความ
  • นักพัฒนา
  • กระทู้
บทความ
สร้าง
บทความ

คอม-ไอที

ปูทางสู่สตรีมมิ่งเพลง TikTok ได้ดีลกับเอเจนซี่ค่ายเพลงและศิลปินอิสระ

7 ก.พ. 2563 เวลา 20.35 น.

Google Search ทำฟีเจอร์ Collections รวบรวมประวัติค้นหา ลดเวลาค้นหาใหม่

7 ก.พ. 2563 เวลา 20.28 น. admin

พุทธิพงษ์ เยือน Facebook หารือข่าวปลอม, เนื้อหาผิดกฎหมาย ชี้เป็นปัญหาหนักในไทย

20 ม.ค. 2563 เวลา 20.10 น. admin

กสทช. ประกาศประมูล 5G วันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ ตั้งเป้าโกยเงิน 5.46 หมื่นล้าน

16 ม.ค. 2563 เวลา 14.08 น. admin

ลาก่อน Windows 7 สิ้นอายุขัยวันนี้ 14 ม.ค. ไม่มีแพตช์ความปลอดภัยอีกแล้ว

16 ม.ค. 2563 เวลา 13.58 น. admin

บทความน่าสนใจ

เขียนแอพมือถือเองก็ทำได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสักบาท

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องเขียนแอปมือเอง ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกัน ในการเขียนแอพพลิเคชั่นบนมือถือนั้นเราต่างก็รู้ดีว่า เราจะต้องหมดเงินในกระเป๋าเพื่อเสียค่าใช้จ่ายในหลายส่วนในการทำแอพตัวนึงเพื่อจ้างบริษัทที่ทำแอปทำให้เรา โดยหลัก ๆ คือ
-ค่าออกแบบแอพพลิเคชั่น
-ค่าพัฒนาแอพพลิเคชั่น
-ค่าเช่าเซิฟเวอร์ (กรณีแอพแบบออนไลน์)
-ค่าฝากแอพพลิเคชั่นในสโตว์
-ค่าดูแลแอพพลิเคชั่น
ขึ้นอยู่กับความต้องการและระยะเวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น
.
แต่ถ้าเรามีความรู้พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมอยู่แล้วหล่ะ แล้วโปรเจคเราก็ไม่ได้ใหญ่โตเกินความสามารถเรา จะดีกว่ามั้ยที่เราสามารถทำแอพบนมือถือให้ออกมาใช้งานเองได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายสักบาท ?
.
ต้องบอกว่า เป็นไปได้ ในกรณีที่ทำแบบออฟไลน์ เช่น เกมออฟไลน์ โปรแกรมเครื่องคิดเลข หรือโปรแกรมที่เก็บข้อมูลบนเครื่องสำหรับไว้ใช้งานเองคนเดียว ซึ่งจะตัดงบประมาณในส่วนค่าออกแบบแอพพลิเคชั่น และค่าพัฒนาซึ่งเป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูง
.
แต่ในกรณีที่เป็นแบบออนไลน์ ที่มีการเก็บข้อมูลไว้บน server เราก็ยังต้องเสียค่าเช่าเซิฟเวอร์ขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลในการรับส่ง และประมาณข้อมูลที่จัดเก็บ ในกรณีที่ทำแอพพลิเคชั่นฝากไว้ที่สโตว์ ถ้าขายใน Play Store ก็จะเสียค่าบริการฝาก 25$ หรือประมาณ 800 กว่าบาทโดยเสียค่าสมัครเพียงครั้งเดียว (ในส่วนแอพบน iphone หรือ ipad จะเสียค่าบริการเป็นรายปีโดยเสียปีละ $99 หรือประมาณ 3,550 บาท )
.
สรุป ในกรณีที่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ในการพัฒนา มีพื้นฐาน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนมือถือ หากเราต้องแอพพลิเคชั่นบนมือถือแบบออฟไลน์นั้น เราไม่ต้องลงทุนอะไรเลย (หากเราทำแอพออกมาได้ดีและอยากขายใน play store เราแค่ยอมลงทุนอีก 800 กว่าบาท ก็ทำได้แล้ว)
.
.
ส่วนการเขียนแอพพลิเคชั่นบนมือถือให้ออกมาได้จริง อย่างไรนั้นขอสรุปไว้ดังนี้
1.ดูความต้องการของเรา และกำหนดความต้องการของเราให้ชัดเจน ว่าเราต้องการแอพพลิเคชั่นแบบไหน แบบออนไลน์ หรือแบบออฟไลน์ เช่น แอพขายของออนไลน์ หรือว่าแชทออนไลน์ แอพจองตั๋ว เกมออฟไลน์ อยากให้ระบบทำอะไรได้บ้าง เพราะหากเรากำหนดไม่ชัดเจนจะมีปัญหาโอกาสที่แอพจะล้มเหลวก็เป็นไปได้ง่าย
2.เลือก platform ในการพัฒนาว่าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝั่งแอนดรอย์ หรือ iOS หรือ ทั้งสองอย่าง
3. เลือกเครื่องมือที่จะใช้พัฒนา เนื่องจาก เครื่องมือที่ใช้พัฒนานั้นก็จะตอบโจทย์ความต้องการแตกต่างกัน เช่นในการทำเกมกราฟิก เราอาจจะใช้เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาซึ่งเขียนได้ง่าย เหมาะสม มีประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็ว ความเสถียร มีcommunity ในการพัฒนามากกว่า นอกจากนี้เครื่องมือบางอย่างก็ขึ้นอยู่กับ platform เราก็ต้องมาดูว่า หากเราจะเขียนแอพพลิเคชั่นแบบ native ก็พัฒนาด้วย android studio ในส่วนของ android หรือ พัฒนาด้วย xcode ในส่วนของ iOS หรือหากจะเขียนแอพพลิเคชั่นครั้งเดียวแต่ใช้ได้ทั้งสอง platform ก็พัฒนาแบบ Hybrid
.
สำหรับเครื่องมือในการพัฒนาที่นิยมในปัจจุบันจะมี React Native, Ionic และ Flutter ซึ่งแอพพลิเคชั่นในลักษณะนี้จะเหมาะกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ หรือแอพที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อแสดงผลและแก้ไข จะไม่เหมาะกับแอพที่เป็นเกม หรือแอพที่มีระบบกราฟฟิคพิเศษเช่นแอพแต่งรูปภาพ แอพไลฟ์สด สำหรับ React Native และ Ionic จะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดย Ionic จะพัฒนาได้ง่ายกว่า แต่ React Native จะทำงานได้เร็วกว่า และ ส่วน Flutter เป็นน้องใหม่มาแรงที่พัฒนาโดย Google เอง ซึ่งเป็นองค์กรที่ใหญ่มาก จะมีการดูแลที่ค่อนข้างดีในระยะยาว
4. ออกแบบแอพพลิเคชั่น ตามความต้องการ จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมการทำงานช่วยให้ง่ายต่อการพัฒนา ไม่สับสน และเป็นระบบ
5. ศึกษาวิธีการพัฒนาตามเครื่องมือที่ใช้พัฒนา
.
สำหรับผู้ที่สนใจและตัดสินใจได้แล้วว่า จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ วันนี้เราขอแนะนำ ในการเขียนแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ ที่ต้องติดต่อฐานข้อมูลด้วย React Native เรียนจบ เข้าใจ ทำตามได้ อัพขาย ขึ้น Play Store สนใจเรียนได้ที่ https://programmerdesign.com
.
"มาเรียนรู้ที่นี่ดียังไง ?”
นอกจากจะมีบทเรียนดี ๆ เข้าใจง่าย ทำได้จริง เรายังสร้าง community เป็นแหล่งในการเรียนรู้ ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมอีกด้วย และยังมีเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ในการเขียนแอพอีกเพียบ
“..เพราะสิ่งต่างๆ สามารถฝึกให้เชี่ยวชาญได้ อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง
จงพร้อมที่จะศึกษาสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา..”

Developer Mindset

เกริ่นนำ

          เป็นธรรรมดาที่ทุกคนต่างต้องการมีความสุขและประสบความสำเร็จในสายงาน หรือ สายอาชีพที่ตนปรารถนากันทั้งสิ้น แต่อะไรกันหล่ะที่จะเป็นตัวนำคุณไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จเหล่านั้น เพราะแน่นอนว่า  ความสำเร็จนั้นไม่ได้มาได้ง่ายๆเหมือนชีวิตที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ คนที่ประสบความสำเร็จทุกคนย่อมข้ามผ่านอุปสรรค ขวากหนาม แรงกดดันที่มาเบี่ยงเบนทางไปสู่เป้าหมายต่างๆนานา หลายครั้งที่เรามีความรู้ในเรื่องนั้นมาก รู้ทั้งวิธีการ ขั้นตอนในการประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เช่น เราอยากลดความอ้วน วิธีการก็รู้ว่าต้องออกกำลังกาย แต่ทำไมเรายังไม่ผอม บางครั้งเห็นของที่น่าทาน เราก็ทานเข้าไป ก็ไม่ผอมสักที สาเหตุก็เป็นเพราะเราไม่สามารถควบคุมจิตใจ ที่มีอารมณ์มาเบี่ยงเบนเราออกจากเป้าหมาย หรือการสั่งงานด้วยจิตใต้สำนึกของเราได้ ซึ่งตัวที่โปรแกรมสิ่งเหล่านี้ก็คือ  Mindset  หรือ กรอบความคิดของเรานั่นเอง กล่าวคืออาจจะมาจากกรอบความเชื่อ การอบรมเลี้ยงดู จากเพื่อนทำให้เกิดความคิดที่มีผลต่อพฤติกรรมของเราในการทำงาน ความสำเร็จส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นจากจิตใจ   หรือ Mind set ของเรา จิตใจที่เข้มแข็ง มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เท่านั้นที่จะพาเราไปสู่เป้าหมาย 

          ในการเป็น Developer หรือนักพัฒนาที่ประสบความสำเร็จนั้น ก็ต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้ทันโลก กระแสโลกพัดพาไปเร็วมาก หากไม่มีกรอบความคิดที่ดี ก็จะพาเราไม่ให้เขวจากเป้าหมายได้ และนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ ผู้เขียนจึงขอหยิบยก แนวทางไปสู่ความสำเร็จของตัวเอง ของคุณหนูเนย สิทธิพล พรรณวิไล โปรแกรมเมอร์ และ เจ้าของบล็อก NuuNeoi.com  ที่ไปบรรยายที่งาน Startup Thailand ภูเก็ต 2016 มาสรุปย่อให้กระชับและเข้าใจดังนี้

นิยามของ Developer

Developer คือ คนที่พัฒนาตัวเองแล้วใช้ skill ที่เค้าพัฒนาไปพัฒนาอย่างอื่นต่อ

Developer Mindset

1.เราสามารถเรียนรู้แล้วก้าวข้ามสิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ

2.คุณต้องเก่งขึ้นตลอดเวลา ทุกอย่างรอบตัวสามารถเรียนรู้ได้

3.ต้องเก่งขึ้นกว่าเมื่อวาน  อยู่เฉย ๆ คือ การถอยหลัง => 1ปี เราจะเก่งขึ้น 365 อย่าง ค่อย ๆ สะสม

4.ก่อนจะแก้ปัญหาได้ต้องรู้ก่อนว่าคุณมีปัญหาอยู่ แล้วก็พัฒนาให้มันเก่ง และแก้มันให้ได้

5.ทุกอย่างต้องใช้เวลาฝึกฝน ไม่มีใครเก่งขึ้นมาเลยโดยไม่มีการฝึกฝน

6.อย่างเก่งอะไร ให้ลงมือทำ

7.การฝึกฝน คือ ทางที่จะพัฒนา คุณจะรู้ว่าคุณเก่งในสิ่งนั้นหรือไม่ จนกว่าจะได้ลงมือทำ

8.อย่ามองหา short cut ควรหาหนทางที่ถูกต้องในการเดินแม้จะยากกว่า แต่ยั่งยืน

9. Do -> feed back ->improve อยากเก่งอะไรให้เริ่มลงมือทำสิ่งนั้น แล้วดู feedback จากคนรอบข้างให้เขาช่วย comment แล้วปรับปรุงใหม่ให้ดีขึ้น

Software Developer Mindset

1.เก่งภาษาใดภาษาหนึ่งก่อน แล้วจับหลักให้ได้  ภาษาอื่นจะง่ายขึ้น

2.software developer ที่ดีจะ ลด learning curve ในการทำอะไรใหม่ ๆ 

3.ฝึกตั้งคำถามที่ดี ก็จะได้คำตอบที่คุณต้องการ 

4.เมื่อเจอปัญหา วิ่งไปหา root cause เสมอ อย่าแก้ปัญหาแบบผักชีโรยหน้า

5.รู้ทุกบรรทัดที่เขียน หาก copy มาก็ต้องเข้าใจว่าทำงานยังไง

6. รู้จักการทำงานเป็นทีม เพราะ software ที่เจ๋ง ๆ เขาไม่ได้ทำกันคนเดียว

7. We are all different  ทุกคนมีทางชีวิตของตนเอง ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องเชื่อคนอื่นทั้งหมด ฟังแล้วตัดสินใจเอง

8. รู้ว่าจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างไร เริ่มจากพื้นฐานแล้วต่อยอดมัน

9. ตั้งเป้าหมายบ่อย ๆ อย่าทำสำเร็จอย่างหนึ่งแล้วยึดติด แล้วหยุดพัฒนา

10. อย่าเสพดราม่า มองทุกอย่างไปตามความเป็นจริง

11. พักผ่อนให้เพียงพอ บริหารเวลาให้เป็น

12. ความสำเร็จแบบขั้นบันได ขึ้นไปเรื่อย ๆ อิงกับเรา แต่ละคนไม่เหมือนกัน ณ ตอนนั้นเท่านั้น ความสำเร็จไม่ได้มีแค่อันเดียว อย่าผูกความสำเร็จ ชื่นชมและปล่อยวางไปและหาใหม่ จงเป็นคนที่ประสบความสำเร็จใน version ของคุณ

13. ทุกครั้งที่ล้มเหลว ทำให้เราได้เรียนรู้ และเก่งขึ้น ให้รู้ไว้ว่า ในที่สุดเป้าหมายของเรา คือ ความสำเร็จ

14. ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็สำเร็จได้ ทำตัวเองให้ดีที่สุด

15. การเป็น Developer ที่ดีต้อง follow trend แต่ การที่จะเป็น developer ที่ยิ่งใหญ่ได้ต้อง predict ได้

16. จงพัฒนาตัวเองและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ

5 เทรนด์มาแรง!!! 2020 ที่นักพัฒนาแอพต้องรู้

5 เทรนด์ที่มาแรงในปี 2020 ที่นักพัฒนาแอปมือถือต้องรู้
.
1.Internet of Things (IoT)
Internet of Things เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ของอุปกรณ์ดิจิตอล การใช้ IoT ในแอพมือถือช่วยควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะผ่านทางสมาร์ทโฟนได้จากระยะไกล นอกจากนี้แอพมือถือที่ขับเคลื่อนโดย IoT ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อวงนาฬิกาข้อมือและอุปกรณ์สวมใส่อื่น ๆ ไปยังสมาร์ทโฟนได้ด้วย เช่น สมาร์ทวอช, การสั่งเปิดปิดไฟจากโมบายแอพพลิเคชั่น เป็นต้น
ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น เราสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น Andriod เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านมือถือ เขียนโปรแกรมรับค่าจาก App ของ Arduino และก็สร้าง แอพพลิเคชั่น Andriod เพื่อใช้ควบคุมไฟฟ้าผ่านมือถือได้
.
2.โลกเสมือนจริง (AR & VR)
ความต้องการแอปพลิเคชั่น VR และ AR กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก, การดูแลสุขภาพ, การศึกษา, การเดินทางและอื่นๆ ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่การประยุกต์ใช้ AR ก็ทำได้หลายอย่าง เช่น การเพิ่มประสบการณ์ในการเล่นเกม หรือการจำลองสินค้าขึ้นมาให้เห็นจากหน้าแคตตาล็อก เป็นต้น
โดยทางหนึ่งในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นคือ ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android มีไลบรารีพื้นฐานในการทำ AR เป็นของตัวเองคือ ARKit และ ARCore ตามลำดับ โดยโปรแกรม Unity ก็มี AR Foundation ไลบรารีที่พัฒนาโดย Unity เองมาเป็นทางเลือกให้กับเรา
.
3.Artificial Intelligence and Chatbots
การรวมกันของ AI กับแอพมือถือ ไม่เพียงแต่ประหยัดเงินเป็นจำนวนมากสำหรับธุรกิจ การพัฒนา Chatbots ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ก็ได้เปลี่ยนวิธีการที่ธุรกิจโต้ตอบกับลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถือได้อย่างรวดเร็ว แอพมือถือที่มีบริการ เช่น บริการรถแท็กซี่การส่งอาหารและการช็อปปิ้งออนไลน์กำลังรวม Chatbots เพื่อตอบคำถามของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
Chatbot ที่ไม่ค่อยฉลาด สามารถสร้างได้โดยการระบุกฎต่างๆ เพื่อกำหนด flow ของบทสนทนา หรือที่เรียกกันว่า rule-based chatbots การที่จะทำให้ rule-based chatbots ทำงานได้ดีนั้น เราจะต้องระบุกฎให้ครอบคลุมทุกคำตอบที่ผู้ใช้งานอาจจะตอบเข้ามา ซึ่งทำได้ค่อนข้างยาก ด้วยเหตุนี้เอง AI จึงถูกนำเข้ามาใช้เพื่อเรียนรู้ pattern จากบทสนทนาที่เกิดขึ้นจริง และช่วยให้ chatbot สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใช้งานพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หน้าที่หลักๆ ของ AI ใน chatbot คือ การเข้ามาช่วยทำนายว่าผู้ใช้งานมีความตั้งใจ (intent) ที่จะทำอะไร และดึงข้อมูลบริบทที่เกี่ยวข้องออกมาจากบทสนทนา สำหรับเครื่องมือที่ใช้พัฒนา AI บนมือถือได้แก่ Caffe2 เป็น deep learning framework ซึ่งเป็น cross platform ที่ทำงานร่วมกับ Android Studio และ Xcode , TensorFlow Lite and Mobile เป็น โอเพ่นซอร์สไลบรารี่ที่สร้าง machine learning model ที่สามารถพัฒนาได้บนมือถือโดยฟังก์ชันที่ทำได้คือการรู้จำเสียง การตรวจจับใบหน้า การสังเคราะห์เสียงเป็นต้น ส่วน iOS ก็จะมี core ML เป็น framework ที่เกี่ยวกับ machine learning
.
4.Cloud-based Mobile Apps
เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้องค์กรจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีนี้เมื่อรวมเข้ากับแอพมือถือจะช่วยเพิ่มความสามารถ การจัดเก็บของแอพพลิเคชั่นและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้แอพพลิเคชั่นมือถือ
ส่วนใหญ่ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถใช้ Amazon Web Service (AWS) เพื่อสำรองข้อมูลคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตข้างหน้า ดังนั้นเราจึงต้องรู้วิธีการใช้แอพพลิเคชั่นมือถือในการติดต่อฐานข้อมูลบน cloud เพื่อใช้ประโยชน์จาก Cloud ได้อย่างเต็มที่ ส่วนวิธีสามารถศึกษาได้จากผู้ให้บริการ
.
5.M-Commerce (ระบบการชำระเงินผ่านมือถือ)
ในยุคที่ผู้ใช้บริการเริ่มชำระเงินผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นมากกว่าที่จะถือเงินสดติดตัว เหล่าธนาคารเองหรือแม้แต่ผู้เล่นที่ถือครองผู้ใช้งานด้านอื่นๆก็เริ่มเข้ามาสร้างแอพพลิเคชั่นสำหรับการชำระเงินที่ครบครัน ดังนั้นเราจึงมีควรความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือทั้ง Android และ iOS หรือ cross platform ที่รองรับการการชำระเงินผ่านทางช่องทางต่างๆด้วย

บทความทั่วไป

  • coding วิชาแห่งโลกอนาคต
  • Fernando J. Corbató บิดาแห่งรหัสผ่านเสียชีวิตแล้ว

  • Load More>>

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • yii 2 framework
  • Adobe Flash
  • xamarin
  • การออกแบบ
  • jquery
  • ReactNative
  • ลงแสงเงา
  • pagination
  • ระบบ Search
  • สอนวาดรูป
  • เขียนแอพมือถือ

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • นโยบายบริการ
  • นโยบายส่วนตัว

น่าสนใจ

  • บทความ
  • Benz_room072
  • โฆษณาทั้งหมด

Copyright 2018 @ Prateep Suayngarm made by Yii 2 framework