วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องเขียนแอปมือเอง ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกัน ในการเขียนแอพพลิเคชั่นบนมือถือนั้นเราต่างก็รู้ดีว่า เราจะต้องหมดเงินในกระเป๋าเพื่อเสียค่าใช้จ่ายในหลายส่วนในการทำแอพตัวนึงเพื่อจ้างบริษัทที่ทำแอปทำให้เรา โดยหลัก ๆ คือ
-ค่าออกแบบแอพพลิเคชั่น
-ค่าพัฒนาแอพพลิเคชั่น
-ค่าเช่าเซิฟเวอร์ (กรณีแอพแบบออนไลน์)
-ค่าฝากแอพพลิเคชั่นในสโตว์
-ค่าดูแลแอพพลิเคชั่น
ขึ้นอยู่กับความต้องการและระยะเวลาในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น
.
แต่ถ้าเรามีความรู้พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมอยู่แล้วหล่ะ แล้วโปรเจคเราก็ไม่ได้ใหญ่โตเกินความสามารถเรา จะดีกว่ามั้ยที่เราสามารถทำแอพบนมือถือให้ออกมาใช้งานเองได้ไม่เสียค่าใช้จ่ายสักบาท ?
.
ต้องบอกว่า เป็นไปได้ ในกรณีที่ทำแบบออฟไลน์ เช่น เกมออฟไลน์ โปรแกรมเครื่องคิดเลข หรือโปรแกรมที่เก็บข้อมูลบนเครื่องสำหรับไว้ใช้งานเองคนเดียว ซึ่งจะตัดงบประมาณในส่วนค่าออกแบบแอพพลิเคชั่น และค่าพัฒนาซึ่งเป็นส่วนที่มีค่าใช้จ่ายสูง
.
แต่ในกรณีที่เป็นแบบออนไลน์ ที่มีการเก็บข้อมูลไว้บน server เราก็ยังต้องเสียค่าเช่าเซิฟเวอร์ขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณข้อมูลในการรับส่ง และประมาณข้อมูลที่จัดเก็บ ในกรณีที่ทำแอพพลิเคชั่นฝากไว้ที่สโตว์ ถ้าขายใน Play Store ก็จะเสียค่าบริการฝาก 25$ หรือประมาณ 800 กว่าบาทโดยเสียค่าสมัครเพียงครั้งเดียว (ในส่วนแอพบน iphone หรือ ipad จะเสียค่าบริการเป็นรายปีโดยเสียปีละ $99 หรือประมาณ 3,550 บาท )
.
สรุป ในกรณีที่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ในการพัฒนา มีพื้นฐาน มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนมือถือ หากเราต้องแอพพลิเคชั่นบนมือถือแบบออฟไลน์นั้น เราไม่ต้องลงทุนอะไรเลย (หากเราทำแอพออกมาได้ดีและอยากขายใน play store เราแค่ยอมลงทุนอีก 800 กว่าบาท ก็ทำได้แล้ว)
.
.
ส่วนการเขียนแอพพลิเคชั่นบนมือถือให้ออกมาได้จริง อย่างไรนั้นขอสรุปไว้ดังนี้
1.ดูความต้องการของเรา และกำหนดความต้องการของเราให้ชัดเจน ว่าเราต้องการแอพพลิเคชั่นแบบไหน แบบออนไลน์ หรือแบบออฟไลน์ เช่น แอพขายของออนไลน์ หรือว่าแชทออนไลน์ แอพจองตั๋ว เกมออฟไลน์ อยากให้ระบบทำอะไรได้บ้าง เพราะหากเรากำหนดไม่ชัดเจนจะมีปัญหาโอกาสที่แอพจะล้มเหลวก็เป็นไปได้ง่าย
2.เลือก platform ในการพัฒนาว่าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝั่งแอนดรอย์ หรือ iOS หรือ ทั้งสองอย่าง
3. เลือกเครื่องมือที่จะใช้พัฒนา เนื่องจาก เครื่องมือที่ใช้พัฒนานั้นก็จะตอบโจทย์ความต้องการแตกต่างกัน เช่นในการทำเกมกราฟิก เราอาจจะใช้เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาซึ่งเขียนได้ง่าย เหมาะสม มีประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็ว ความเสถียร มีcommunity ในการพัฒนามากกว่า นอกจากนี้เครื่องมือบางอย่างก็ขึ้นอยู่กับ platform เราก็ต้องมาดูว่า หากเราจะเขียนแอพพลิเคชั่นแบบ native ก็พัฒนาด้วย android studio ในส่วนของ android หรือ พัฒนาด้วย xcode ในส่วนของ iOS หรือหากจะเขียนแอพพลิเคชั่นครั้งเดียวแต่ใช้ได้ทั้งสอง platform ก็พัฒนาแบบ Hybrid
.
สำหรับเครื่องมือในการพัฒนาที่นิยมในปัจจุบันจะมี React Native, Ionic และ Flutter ซึ่งแอพพลิเคชั่นในลักษณะนี้จะเหมาะกับแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ หรือแอพที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อแสดงผลและแก้ไข จะไม่เหมาะกับแอพที่เป็นเกม หรือแอพที่มีระบบกราฟฟิคพิเศษเช่นแอพแต่งรูปภาพ แอพไลฟ์สด สำหรับ React Native และ Ionic จะเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดย Ionic จะพัฒนาได้ง่ายกว่า แต่ React Native จะทำงานได้เร็วกว่า และ ส่วน Flutter เป็นน้องใหม่มาแรงที่พัฒนาโดย Google เอง ซึ่งเป็นองค์กรที่ใหญ่มาก จะมีการดูแลที่ค่อนข้างดีในระยะยาว
4. ออกแบบแอพพลิเคชั่น ตามความต้องการ จะทำให้เรามองเห็นภาพรวมการทำงานช่วยให้ง่ายต่อการพัฒนา ไม่สับสน และเป็นระบบ
5. ศึกษาวิธีการพัฒนาตามเครื่องมือที่ใช้พัฒนา
.
สำหรับผู้ที่สนใจและตัดสินใจได้แล้วว่า จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนมือถือ วันนี้เราขอแนะนำ ในการเขียนแอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ ที่ต้องติดต่อฐานข้อมูลด้วย React Native เรียนจบ เข้าใจ ทำตามได้ อัพขาย ขึ้น Play Store สนใจเรียนได้ที่ https://programmerdesign.com
.
"มาเรียนรู้ที่นี่ดียังไง ?”
นอกจากจะมีบทเรียนดี ๆ เข้าใจง่าย ทำได้จริง เรายังสร้าง community เป็นแหล่งในการเรียนรู้ ซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมอีกด้วย และยังมีเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ในการเขียนแอพอีกเพียบ
“..เพราะสิ่งต่างๆ สามารถฝึกให้เชี่ยวชาญได้ อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง
จงพร้อมที่จะศึกษาสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา..”
All Comments (4)